วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แกะสลัก " ฝรั่ง"

1. เลือกฝรั่งผลสดเกลี้ยงไม่มีรอยช้ำ

2.วาดฝาผอบเป็นรูปใบไม้สี่ใบ เซาะให้ออกจากผลฝรั่งและคว้านเมล็ดออก





3.วาดเส้นกลางใบบริเวณฝา






4.เซาะร่องใบและขอบใบทั้งสี่ 
5.วาดเส้นขอบบริเวณผอบ


6.เซาะร่องแล้ววาดกลีบพร้อมปาดเนื้อให้กลีบชัดขึ้น ชั้นที่ 1 หนึ่งกลีบ ชั้นที่ 2 สับหว่างกับชั้นที่ 1



7วาดกลีบสับหว่างกันแต่ละช่อง



8.วาดกลีบสับหว่างกันโดยรอบผลฝรั่ง 



ฝาขผอบมาคู่กันก็จะได้ผอบจากฝรั่งที่สวยงาม 

เคล็ดลับ" การดูแลรักษามีดแกะสลัก"

การเก็บรักษามีด

1. หลังใช้งานแล้วต้องทำความสะอาดทุกครั้ง วัสดุที่นำมาแกะสลักบางชนิดมียาง ต้องล้างยางที่คมมีดด้วยมะนาว หรือน้ำมันพืชก่อน แล้วจึงล้างด้วยน้ำให้สะอาด เช็ดให้แห้งเก็บปลายมีดในฝักหรือปลอด
 2. หมั่นดูแลมีดแกะสลักให้มีความคมสม่ำเสมอเวลาใช้งานแกะสลักผักและผลไม้จะได้ไม่ช้ำ โดยหลังการใช้ต้องลับคมมีดทุกครั้ง เช็ดให้แห้งเก็บใส่กล่องไว้ให้พ้นมือเด็ก
   3. ควรเก็บมีดแกะสลักในปลอกมีดเพื่อป้องกันไม่ให้ปลายมีดกระทบของแข็ง จะทำให้ปลายมีดหักหรืองอได้

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แกะสลักแตงโม " ลายดอกรักเร่"


แกะสลักแตงโมแบบที่ 9 ลายดอกรักเร่

สวัสดีค่ะ...พบกันอีกครั้งกับการแกะสลักแตงโม
คราวนี้เป็นแบบที่ 9 แล้ว เป็นลายดอกรักเร่  

เมื่อเริ่มเรียนแกะสลัก โดยส่วนมาก จะสอนการกรีดต้นหอม ไล่มาจนถึง
ใบไม้แบบต่างๆ พอเริ่มเป็นดอกไม้ก็มักมาลงเอยที่ ลายดอกประดิษฐ์
ดอกข่า ดอกรักเร่ และดอกบานชื่น  

ลายนี้ คอฟฟี่เบค จึงถือว่าเป็นลายเบื้องต้นค่ะ สำหรับ
คนเริ่มฝึกด้วยเช่นกัน

ในส่วนของดอกบานชื่น ได้สาธิตไปแล้ว คราวนี้มาดูการแกะสลักลายดอกรักเร่
กันบ้างค่ะ เป็นลายที่ไม่ยากเลย แต่ถ้าเริ่มฝึก ส่วนของเกสรตรงกลาง  
ให้กรีดเป็นตารางง่ายๆ ก็ได้ หรือจะทำแบบที่สาธิตก็ได้ค่ะ  

ลายนี้ถือเป็นลายพื้นๆ ไม่มีเทคนิคอะไรซับซ้อนมากนัก มาลองฝึกกันดูนะคะ ^^ 






กลีบดอกรักเร่ มีเทคนิคในการทำได้หลายแบบ ..ทำให้กลีบดูหนาหน่อย สำหรับโชว์ได้
ทั้งวันโดยไม่ช้ำ หรือทำกลีบให้ดูบางคม ก็ได้ แล้วแต่ความชอบ และความสะดวกใน
การใช้งาน

วันนี้ชวนทำแบบเทคนิค..กลีบแบบบางๆ ...ส่วนตัวชอบแบบนี้มาก
ที่สุด 









ในส่วนของเกสร ทำได้ สองแบบ ..แบบง่ายก็คือกรีดเป็นตารางไปเลย
อีกแบบ คือทำกลีบเล็กๆ ให้ซ้อนเป็นชั้นลดหลั่นกันไปคือแบบที่กำลังสาธิตค่ะ 





มาเริ่มทำกันเลยค่ะ
แตงโม จินตหรา หรือกินรีลูกกลมๆ หรือรีเล็กน้อยก็ได้ค่ะ

เมื่อซื้อมาให้ล้างทำความสะอาดเช็ดให้แห้ง จับตั้งดูว่า มุมไหนที่ตั้งแล้ว
ไม่กลิ้งหรือเอียง เลือกมุมนั้น

ปอกเปลือกเขียวๆ ออก และเก็บส่วนที่เป็นเปลือกขาวชั้นในไว้บางพอประมาณ
วาดลงกลม ประมาณ 2 1/2 นิ้ว ถ้าเป็นเกสรตาราง ทำให้เล็กกว่านั้นก็ได้

จากนั้นปักมีดลงไปตรงๆ ทำมุม 90 องศา ลึก 1 ซ.ม. กรีดให้บรรจบ
ครบรอบ 






ตั้งมีด 45 องศา เอียงออกนอกวงกลม ปักมีดลึก ประมาณ 1 ซ.ม. เช่นกัน กรีด
ให้บรรจบครอบรอบวงนอก แล้วดึงเนื้อแตงโมทิ้ง 















เริ่มทำจากเกสร

แบ่งเป็น 12 ช่องเท่าๆ กัน
ปาดเนื้อแตงโมทิ้งเป็นรูปสามเหลี่ยม โดยปาดเอียงมีด 45 องศา ทีละด้าน

ที่กำลังสาธิต คอฟฟี่เบคไม่ได้แบ่งให้เท่ากันค่ะ แต่ใช้สายตากะระยะเอาเอง 













ดึงเนื้อทิ้ง






ปาดเซาะด้านข้างซ้ายขวา ลากลงมาให้ปลายกลีบแหลม
โดยเอียงมีดเข้าหากลีบ 45 องศา (อย่ากรีดลงมาตรงๆ) เพื่อให้ดู
กลีบบางคม 






ปาดเนื้อระหว่างกลีบทิ้ง














ทำจนครบรอบเกสร







ปาดเนื้อด้านในให้ขอบกลมมน ดูโค้งเล็กน้อย 






กรีดกลีบชั้นต่อไปโดยรอบ ถ้าไม่ละเอียดให้ดู แกะสลักแตงโมแบบที่ 2 รักเร่หยักประกอบกัน
เพราะทำแบบเดียวกัน ต่างกันตรงลายหยักเท่านั้น






ปาดเซาะดึงเนื้อใต้กลีบทิ้ง ต้องการเกสรลึกลงไปมากๆ ก็ให้ปาดลึกๆ
แต่ครั้งนี้ ปาดไม่ค่อยลึกเหมือนลายรักเร่หยักค่ะ เพราะต้องการเกสรแบบตื้นหน่อย







ออกมาเป็นแบบนี้ค่ะ







ทำจนถึงชั้นในสุด 






ทำกลีบรอบนอกเกสร ชั้น ที่ 1 แกะเหมือนกับเกสร 









เซาะเนื้อระหว่างกลีบทิ้ง หรือจะเซาะด้านซ้ายทีขวาทีก็ได้




แล้วเราก็แกะไปรอบแตงโมแต่ละด้านเพื่อให้เกิดความสวยงาม



วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

คำถาม "แกะสลัก"

คำถามแกะสลัก
1.การแกะสลักผลไม้มีความสำคัญอย่างไร ?
2.ผลไม้ชนิดไหนที่เหมาะในการเลือกมาแกะสลักมากที่สุด ?
3.การแกะสลักต้องมีการใช้อุปกรณ์แบบไหน?

"คำตอบ"
    >>   ข้อ 1

1.ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
- สามารถตัด แต่งผัก ผลไม้ เป็นชิ้นเป็นคำมีความสวยงามและ เพื่อความสะดวกในการรับประทาน
2. นำมาใช้ในโอกาสพิเศษ ตามงานเลี้ยงต่างๆ
- สามารถแกะสลักผัก ผลไม้ เพื่อนำไปจัดตกแต่งอาหารต่างๆ เช่น แกะสลักผักหรือผลไม้เป็นผอบเพื่อใส่อาหาร และใช้ในการตกแต่งสถานที่ให้ดูสวยงามน่าชมได้อีกด้วยเช่น การแกะสลักแตงโมหรือแคนตาลูปทั้งผลเพื่อตกแต่งสถานที่ในงานให้สวยงาม
3. สร้างสมาธิให้กับผู้ที่แกะสลัก
- การแกะสลักผัก ผลไม้จะต้องมีสมาธิ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุจากมีดที่ใช้ในการแกะสลักได้ และชิ้นงานที่ได้จะมีความประณีตสวยงามไม่มีรอยช้ำตามต้องการ
4. เสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- เมื่อผู้แกะสลักเรียนรู้วิธีการแกะสลักอย่างชำนาญแล้ว จะมีความเข้าใจและสามารถสร้างสรรค์ลวดลายใหม่ได้ตามความต้องการ
5. สร้างความภาคภูมิใจแก่ตัวเอง
- การแกะสลักถือเป็นงานที่มีความยากอย่างหนึ่ง แต่หากได้มีการเรียนรู้อย่างมีระบบ มีขั้นตอน และใช้ระยะเวลาในการฝึกฝน จะสามารถทำได้อย่างง่ายดายและเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
6. อนุรักษ์สืบสานศิลปะการแกะสลักของไทย
- ปัจจุบันมีผู้สนใจงานด้านแกะสลักผักและผลไม้อย่างจริงจังน้อยลง เนื่องจากค่านิยมมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่ยังมีผู้สนใจที่จะเรียนรู้การแกะสลักผักและผลไม้ เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประกอบอาชีพในต่างประเทศ และการแกะสลักผักและผลไม้เป็นวิชาหนึ่งของการศึกษาในสาขาคหกรรมศาสตร์ จึงเป็นสิ่งที่ยังมีกลุ่มคนที่มีการอนุรักษ์สืบทอดให้คงอยู่ต่อไป

1.นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
 - สามารถตัด แต่งผัก และปอก คว้านผลไม้ เพื่อความสะดวกในการรับประทาน
2.นำมาใช้ในโอกาสพิเศษ
- สามารถแกะสลักผัก ผลไม้เพื่อใช้จัดตกแต่งอาหาร เช่นแกะสลักผอบเพื่อใส่อาหาร และใช้ในการตกแต่งสถานที่ได้อีกด้วย
3.สร้างความสงบ และสมาธิ
- การปอก คว้านและแกะสลักผัก ผลไม้จะต้องมีสมาธิ มิฉะนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุจากมีดได้ ผลงานที่ได้จึงจะมีความสวยงาม
4. สร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
 - เมื่อผู้แกะสลักเรียนรู้วิธีการแกะสลักแล้ว จะมีความเข้าใจและสามารถสร้างสรรค์ลวดลายใหม่ได้ตามความต้องการ
5.สร้างความภาคภูมิใจแก่ตัวเอง
- การแกะสลักถือเป็นงานที่มีความยากอย่างหนึ่ง แต่หากได้รับการเรียนรู้อย่างมีระบบ มีขั้นตอน และใช้ระยะเวลาในการฝึกฝน จะสามารถทำได้อย่างง่ายดายและเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
 6.อนุรักษ์สืบสานศิลปะการแกะสลักของไทย
- ปัจุบันมีผู้สนใจงานแกะสลักอย่างจริงจังน้อยลง เนื่องจากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงไป แต่ยังมีผู้สนใจที่จะเรียนรู้งานแกะสลัก เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประกอบอาชีพในต่างประเทศ และงานแกะสลักจะเป็นวิชาหนึ่งของการศึกษาทางคหกรรมศาสตร์ จึงเป็นงานที่ยังมีการอนุรักษ์สืบทอดให้คงอยู่ต่อไป 

 1. เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น
                1.1  จัดตกแต่งผักและผลไม้ให้สวยงามน่ารับประทาน
                1.2  จัดแต่งให้สะดวกแก่การรับประทาน
 2.  เพื่อใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น
                2.1  งานประเพณีต่างๆ นิยมจัดตกแต่งอาหารคาวหวานให้สวยงาม เพื่อเลี้ยงพระหรือรับรองแขก เช่น งานบวชนาค งานแต่งงาน งานวันเกิด งานฉลองแสดงความยินดี
                2.2  งานวันสำคัญ เช่น งานปีใหม่ หรือแกะสลักผลไม้เชื่อม/แช่อิ่ม ใส่ภาชนะที่เหมาะสมใช้เป็นของขวัญ ของฝาก ไปกราบญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ
                2.3  งานพระราชพิธีต่างๆ      
  3.  เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น เป็นช่างแกะสลักผักและผลไม้ตามร้านอาหาร ภัตตาคาร  โรงแรม หรือบนสายการบินระหว่างประเทศ
  4.  เพื่อเป็นแนวทางในการดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ไทย
  5.  เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย
  6.  เพื่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการคิดรูปทรง และลวดลายที่แปลกใหม่โดยจัดประกวดการแกะสลักผักและผลไม้ในหัวข้อต่างๆ
   7.  ทำให้ผู้แกะสลักเกิดความภาคภูมิใจในผลงานและได้รับการยกย่องสร้างงานและรายได้

>> ข้อ 2

                   แตงกวา  เลือกผิวสดสีเขียวปนขาวไม่เหลือง  สามารถนำมาแกะสลักได้หลายรูปแบบ  เช่น  กระเช้าใส่ดอกไม้  ดอกไม้  ใบไม้  เมื่อแกะเสร็จให้ล้างด้วยน้ำเย็นใส่กล่องแช่เย็นไว้  หรือใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำคลุมไว้จะได้สดและกรอบ
                    มะเขือเทศ  เลือกผลที่มีผิวสด  ขั้วสีเขียว  นำมาแกะสลักเป็นดอกไม้  หรือปอกผิวนำมาม้วนเป็นดอกกุหลาบ  เมื่อแกะเสร็จควรล้างด้วยน้ำเย็น  ใส่กล่องแช่เย็น 
                    มะเขือ  เลือกผลที่มีผิวเรียบ  ไม่มีรอยหนอนเจาะ  ขั้วสีเขียวสด  นำมาแกะเป็นใบไม้  ดอกไม้เมื่อแกะเสร็จควรแช่ในน้ำมะนาวหรือน้ำมะขาม  จะทำให้ไม่ดำ
                    แครอท  เลือกสีส้มสด  หัวตรง  นำมาแกะเป็นดอกไม้  ใบไม้  สัตว์ต่างๆ  เมื่อแกะเสร็จให้แช่ไว้ในน้ำเย็น
                    ขิง  เลือกเหง้าที่มีลักษณะตามรูปร่างที่ต้องการ  แกะเป็นช่อดอกไม้  ใบไม้  สัตว์  เมื่อนำขิงอ่อนไปแช่ในน้ำมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูสวย
                    มันเทศ  เลือกหัวที่มีผิวสด  ไม่มีแมลงเจาะ  แกะเป็นรูปสัตว์ต่างๆ  แกะเสร็จแล้วนำไปแช่ในน้ำมะนาวหรือน้ำมะขาม  ผิวจะได้ไม่ดำ
                    เผือก  เลือกหัวใหญ่กาบสีเขียวสด  นำมาแกะเป็นภาชนะใส่ของ หรืออาหาร  ดอกไม้  ใบไม้   เมื่อแกะเสร็จให้นำไปแช่ในน้ำมะนาวหรือน้ำมะขามจะทำให้มีสีขาวขึ้น
                    ฟักทอง  เลือกผลแก่เนื้อสีเหลืองนวล  นำมาแกะเป็นภาชนะ  ดอกไม้  ใบไม้  หรือสัตว์ต่างๆ  แกะเสร็จแล้วให้ล้างน้ำแล้วใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำคลุมไว้
                    มันฝรั่ง  เลือกผิวสด  นำมาแกะเป็นใบไม้  ดอกไม้  สัตว์ต่างๆ  เมื่อปอกเปลือกแล้วให้แช่ไว้ในน้ำมะนาวจะได้ไม่ดำ
                    แตงโม  เลือกผลให้เหมาะกับงานที่ออกแบบไว้  นำมาแกะเป็นภาชนะแบบต่างๆ  เมื่อแกะเสร็จให้ใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำคลุมไว้                  
           1. การเลือกซื้อผักและผลไม้ ควรเลือกชนิดที่มีความสดใหม่ เพื่อจะช่วยให้ผลงานที่แกะสลักมีอายุการใช้งานได้นานขึ้น
           2. ก่อนนำผักและผลไม้ไปแกะสลัก ควรล้างน้ำให้สะอาด           
            3. การเลือกมีดแกะสลัก ควรเป็นมีดสแตนเลส หรือมีดทองเหลือง ซึ่งมีดต้องคมมาก เพราะจะทำให้ผักและผลไม้ไม่ช้ำ
            4. การเลือกชนิดของผักและผลไม้แกะสลัก ควรเลือกให้เหมาะกับประโยชน์การนำไปใช้
           5. การเลือกรูปแบบหรือลวดลายที่จะแกะควรเลือกให้เหมาะกับการนำไปใช้ประโยชน์
           6. การเลือกผัก ผลไม้ตกแต่งอาหารควรเลือกชนิดที่มีสีสวยงาม หลากหลาย เพื่อจะทำให้อาหารน่ารับประทานขึ้น
            7. การแกะสลักต้องพยายามรักษาคุณค่าอาหาร โดยไม่ควรแช่น้ำนานเกินไป  https://sites.google.com/site/beemkanyalak/home/prayochn-khxng-ngan-kaea-slak/phl-mi-thi-hemaa-sahrab-ngan-kaea-slak
ผัก และผลไม้ในประเทศไทยมีมากมายหลายชนิดโดยทั่วไปจะมีรูปทรงกลม และรูปทรงกระบอก ซึ่งเป็นรูปทรงพื้นฐานในการแกะสลักได้ทุกลวดลาย ผักและผลไม้สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ
1. ผลไม้ที่มีเนื้อบาง จะสามารถแกะสลักได้ไม่มากนัก และเหมาะกับการปอกคว้าน เพื่อการรับประทาน เช่น ชมพู่ พุทรา ละมุด มะปราง เงาะ
2. ผลไม้เนื้อหนา จะสามารถปอก คว้าน ตัดแต่งให้เป็นชิ้นที่มีรูปร่างตามต้องการ เพื่อการรับประทาน และแกะสลักได้ตามความต้องการ ของผู้แกะสลัก เช่นแตงโม แคนตาลูป มันแกว มะม่วง มะละกอ
การเลือกซื้อผลไม้เพื่อการแกะสลัก

1. เลือกตามฤดูกาลที่มี จะได้ผลไม้ที่มีความสด และราคาถูก
2. เลือกให้ตรงกับความต้องการหรือวัตถุประสงค์ในการแกะสลัก เช่นเพื่อการปอกคว้าน เพื่อการแกะสลักเป็นภาชนะ
3. เลือกให้มีขนาดเหมาะสมกับผลงานที่จะแกะสลัก โดยเฉพาะการแกะสลักภาชนะจะต้องเลือกรูปทรงและขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งาน
4. เลือกให้สด สวยตามลักษณะของผลไม้ที่แกะสลัก ทั้งผิวพรรณ และอายุของผลไม้ 
>>ข้อ 3
          มีดแกะสลักมีลักษณะปลายเรียวแหลม คมบาง ทำด้วยแสตนเลสหรือเหล็กไม่เป็นสนิม หรือทองเหลือง เพื่อช่วยไม่ให้ผักและผลไม้มีสีดำ ความยาวของตัวมีดส่วนที่คมไม่ควรเกิน 2 – 3 นิ้ว ความกว้างของใบมีดส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 1/3 – 1/2 นิ้ว ด้ามมีดไม่ควรมีน้ำหนักมากเพราะจะทำให้เมื่อยเร็ว และแกะสลักได้ช้า และไม่ควรเป็นมีดรูปโค้ง จะทำให้แกะสลักได้ยาก มีดแกะสลักเล่มเดียวสามารถแกะสลักผักและผลไม้ได้หลายแบบ หลายชนิดตามความต้องการ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมืออย่างอื่นเลย จึงต้องเก็บรักษาปลายมีดให้แหลมคมเสมอก่อน ใช้ควรตรวจดูและและหมั่นลับมีดให้คมอยู่เสมอ หลังการใช้งานเสร็จทุกครั้งควรล้างเช็ดให้แห้งเก็บให้เรียบร้อย มีดแกะสลักใช้สำหรับคว้าน แกะ สลัก เซาะ ให้เป็นร่อง และใช้ในการตัดเส้นลวดลาย ต่าง ๆ 
1. มีดแกะสลักที่มีด้ามแบน
- มีลักษณะใบมีดเรียวแหลมยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ใบมีดมักจะเป็นเนื้อสแตนเลสอย่างดีเพื่อมิให้เกิดปฏิกิริยากับผักและผลไม้ มีดด้ามแบนเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มฝึกฝนการแกะสลัก เพราะสามารถควบคุมมีดได้ง่าย      2. 2มีดแกะสลักที่มีด้ามกลม
- มีลักษณะใบมีดเรียวแหลมยาวประมาณ 1.5 – 2.5 นิ้ว ใบมีดมีทั้งเนื้อสแตนเลส และเนื้อเหล็ก จึงควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน มีดด้ามกลมเหมาะสำหรับผู้ที่แกะสลักได้แล้ว เพราะสามารถควบคุมมีดให้ไปตามทิศทางต่างๆ 
  1. มีดบางใช้ปอก เกลา ปาดผลไม้เพื่อเตรียมแกะสลัก
  2. มีดแกะสลักหรือมีดคว้านปลายแหลมเรียวเล็ก คมบาง ใช้สำหรับคว้านแกะสลักเซาะ
    ให้เป็นร่อง
  3. หินลับมีดหรือกระดาษทรายละเอียดใช้สำหรับลับมีดเพื่องานแกะสลัก
  4. ผ้าเช็ดมือ และผ้ากันเปื้อน
สรุป
จากการที่ได้สำรวจของมูลของการแกะสลักหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นทางด้านความสำคัญของการแกะสลักก็จะให้รู้ได้ว่าด้านว่าความสำคัญของการเเกะสลักนั้นมีประโยชน์กับเรามากน้อยแค่ไหนแต่ก็ได้รู้ว่ามีประโยชน์หลายด้านมากที่จะให้เราเรียนรู้ทั้งทำให้เราฝึกสมาธิ และยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมเก่าๆเอาไว้เพราะว่าปัจจุบันการแกะสลักเริ่มหายไปและลดน้อยลง แต่การแกะสลักของผลไม้จะทำให้เรารู้ว่าผลไม้ไหนที่เหมาะสมกับการนำไปแกะสลัก และผลไม้ชนิดไหนควรแกะสลักแบบไหน และควรจัดจานด้วยผลไม้แบบไหน ซึ่งทำให้เรารู้มากขึ้นว่าผลไม้แต่ละชนิดมีความสำคัญยังไงและจะเป็นผลไม้ที่มีเปลือกนิ่มจะทำให้การแกะสลักของเราง่ายขึ้นรวามไปถึงอุปกรณ์ต้องมีความคมแหลมเพื่อที่จะให้ออกมาในรูปแบบงานแกะที่ดูคมและมีรวดลายที่สวยงามอุปกรณ์ก็มีความสำคัญในการเลือกมาแกะสลักเพราะถ้าเราเลือกไม่ดีก็แาจจะทำให้การแกะสลักของเราออกมาในรูปแบบที่ไม่สวยงามดังนั้นการแกะสลักแต่ละขั้นตอนก็มีความสำคัญที่แตกต่างกันและการแกะสลักถือเป็นสิ่งที่ดีอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้เพราะ มีความสำคัญในหลายๆด้านแต่ที่สำคัญเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมให้คงอยู่กับเราได้นานยิ่งขึ้น








"ประวัติ"

Profile 


นางสาว พัชรินทร์ ยินดีสิทธิ์
ชื่อเล่น จ๋อมแจ๋ม
วันเกิด 9 มกราคม 2540
ชอบสี เขียว
ศึกษา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
สาขา  วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
นิสัย   เป็นคนสนุกสนาน ร่าเริง หัวเราะง่าย
งานอดิเรก  ดูหนัง ฟังเพลง 

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

ความงดงามของการแกะสลัก

สวัสดีค่ะ ทุกๆท่าน การแกะสลักถือเป็นสิ่งที่สวยงาม เป็นสิ่งคนหลายคนจะมองว่ามันยากมองว่าจะเริ่มยังไงทำยังไงให้ออกมาสวยออกมาดูดี แต่คุณมองเข้าไปลึกๆแล้วการแกะแกะสลักเป็นสิงที่ใครๆหลายคนก็ทำได้ถ้าเรากล้าที่จะยิบแล้วเริ่มที่จะลองทำมัน